21.3.12

พันธุ์กาแฟ (Coffee Varieties)

พันธุ์กาแฟ (Coffee Varieties)

๐ สายพันธุ์กาแฟที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นกาแฟอราบิก้า (Arabica) ทั้งสิ้น........ อาทิ..บลูเมาเทน(Blue Mountian) มอกก้า(Mokka)โคน่า(Kona) ทิปปิก้า(Typica) เบอร์บอน( Bourbon) และ อราบิก้าไทย ความผิดเพี้ยน สับสนในการเรียกชื่อกาแฟ สายพันธุ์ และ ชนิดกาแฟ นับเป็นปัญหายุ่งยาก หากไม่ได้ศึกษา-ค้นคว้า ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อันนับว่ากว้างขวาง ละเอียดมากมายเกินความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงขอประมวลและสรุปย่อพอให้ท่านที่สนใจทราบเป็นพื้นฐาน

กาแฟที่ปลูกเป็นการค้าในโลกนี้ แบ่งพันธุ์เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้อยู่ 4 กลุ่มคือ..

1.กาแฟพันธุ์อราบิก้า (Arabica)
2.กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta)
3.กาแฟพันธุ์เอ็กเซลซ่า (Excelsa)
4.กาแฟพันธุ์ลิเบอริก้า (Liberrica)

๐ กาแฟพันธุ์อราบิก้า เป็นกาแฟที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งมีผลผลิตประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของกาแฟที่ปลูกทั่วโลก
๐ กาแฟโรบัสต้า มีความสำคัญรองลงมาจากกาแฟอราบิก้า และ คุณภาพด้วยกว่าอราบิก้า
๐ กาแฟพันธุ์เอ็กเซลซ่า ไม่มีความสำคัญและปริมาณในทางการค้า เพราะคุณภาพไม่ดี มีกลิ่นเหม็นเขียว
๐ กาแฟพันธุ์ลิเบอริก้า เป็นกาแฟพื้นเมืองของแองโกล่า คุณภาพสารกาแฟไม่ดีพอ ไม่เป็นที่สนใจของตลาดและนักดื่ม

สรุปแล้วก็คือตลาดกาแฟสากลทั่วโลกนี้ มีกาแฟพันธุ์อราบิก้า และ โรบัสต้า สองสายพันธุ์ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป.

กาแฟอราบิก้า แยกสายพันธุ์ต่างๆ (Arabica coffee varieties) กาแฟอราบิก้ามีโครโมโซม ที่สามารถผสมตัวเองได้ ทำให้มีการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding) โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย แต่อาจจะมีการแตกผ่าเหล่าขึ้นได้ เกิดเป็นสายพันธุ์ต่างๆหลายสายพันธุ์ พอแยกพันธุ์สำคัญได้ อาทิ

๐ พันธุ์ทิปปิก้า (Typica) มีลักษณะเด่นยอดเป็นสีทองแดง ติดลูกห่างระหว่างข้อ มีใบเล็กเรียบ เจริญเติมโตเร็ว แต่ไม่ทนต่อโรคฯลฯ เป็นพันธุ์ดั่งเดิมต้นกำเนิดของกาแฟอราบิก้า เริ่มปลูกในเยเมน แล้วแพร่หลายไปสู่ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์และฮาวาย
๐ พันธุ์บลูเมาเทน (Bule Mountion) กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทิปปิก้า นำไปปลูกที่บลูเมาเทนในจาไมก้า มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบนภูเขาที่สูง เป็นกาแฟที่มีคุณภาพและรสชาติดีมาก เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค ถือว่าเป็นกาแฟมีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของโลก จึงมีราคาแพงที่สุดเช่นกัน
๐ พันธุ์มอกก้า (Mocha หรือ Mokka) เป็นกาแฟส่งออกผ่านท่าเรือ โมช่า(Mocha) ใช้ชื่อการค้าว่า ม๊อกกา (Mokka) ใประเทศ อินโดนีเซีย มีความแตกต่างอย่างมากจากพันธุ์ที่ปลูกในแหล่งเดิม มีเอกลักษณ์กลิ่หอม ผลไม้คล้ายโกโก้ อย่างไรก็ตามพันธุ์นี้มีผลทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะมีปริมาณผลผลิตจำกัดที่ออกสู่ตลาด
๐ พันโคน่า (Kona) เป็นที่รู้จักดีสำหรับคอกาแฟในคุณภาพและรสชาติที่ติดอันดับต้นๆของกาแฟทั่วโลก ตามรูปแบบของกาแฟพันธุ์ทิปปิก้า ได้นำมาจากเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล มาปลูกในเมืองโคน่า ประเทศฮาวาย ภายใต้ชื่อการค้า "ฮาวายโคน่า"มีราคาที่แพงที่สุดในตลาดโลกเช่นเดียวกับ บลูเมาเทน

กาแฟอราบิก้ายังแยกพันธุ์ผสมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากมาย คือพันธุ์คาทูร่า (Catura) พันธุ์คาทุย (Catuai) พันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) พันธุ์เค้นส์ (Kent)ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะพิจารณาเห็นว่าเป็นชื่อจากแหล่งการเพาะปลูก หรือเมืองที่ปลูก อันมีรายละเอียดและความดีเด่น ในทุกมุมอย่างกว้างขวาง ตามข้อมูลการศึกษา-วิจัย

กาแฟอราบิก้าไทย

พันธุ์อราบิก้าชื่อ "คาติมอร์" (CatiMor) เป็นการเรียกชื่อพันธุ์มาจากคำว่า คาทูร่า(Catturra) และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์(Hibrido de Timor) เป็นชื่อเรียกตามการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างคาทูร่าผลแดง เป็นต้นแม่พันธุ์ และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์เป็นต้นพ่อพันธุ์ ผลการผสมระหว่างลูกผสมข้ามชนิด ทำให้ลูกผสมที่ได้มีความต้านทานต่อโรคราสนิม และ ได้ลักษณะทรงเตี้ย ผลผลิตสูง และใช้หมายเลข CIFC 19/1 และ 832/1 ซึ่งกำหนดโดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ Centro de Investicao -das Ferrugens de Cafeeiro (CIFC) ในประเทศโปรตุเกส

สถานีวิจัย CIFC ได้เริ่มแผนการปรับปรุงพันธุ์ในตอนต้นปี พ.ศ.2503 เป็นลูกผสมรุ่นที่ 1 รวมทั้งการศึกษาทดลองผสมพันธุ์กับกาแฟอราบิก้าตัวอื่นๆ อีกจำนวนมากมายหลายรุ่น หลายชั่วอายุสายพันธุ์ และได้นำมาคัดเลือกความต้านทานโรคราสนิม โรคอื่นๆในเมืองไทย รวมทั้งค้นหาศักยภาพในการให้ผลผลิต และ คุณภาพที่ดี ณ โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งหน่วยงานพัฒนาเกษตรที่สูงหลายหน่วยงาน จนเป็นที่ยอมรับว่า พันธุ์กาแฟคาติมอร์ มีคุณภาพดีเหมาะสมแด่การส่งเสริมไปสู่แปลงปลูกของเกษตรกรชาวไทยภูเขา มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการศึกษา-วิจัย และติดตามประเมินผล ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเจริญเติมโต การดูแลรักษา ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ก็ยังต้องมีต่อไป.

ที่มา..พันธุ์กาแฟ จากหนังสือ การปลูกและการผลิตกาแฟอราบิก้าบนที่สูง โดย ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ (ปี พ.ศ.2537)

ที่มา : chiangmaicoffee.com

11.3.12

Latte Art คืออะไร

Latte Art คืออะไร

Latte Art คืออะไร ศิลปะบนฟองนม หรือลาเต้อาร์ต (Latte Art) คือการสร้างสรรค์ศิลปะเป็นลวดลายจากโฟมนมลงบนน้ำกาแฟ ที่ปกคลุมผิวหน้าด้วยโฟมของกาแฟ ที่รียกว่า เครม่า (Creama) What’s Latte Art? Milk foam designs, or “Latte Art”, are artistic designs created in the foam of espresso drinks by a barista


กำเนิด Latte Art Latte Art มีต้นกำเนิดจากประเทศอิตาลี ประเทศแห่งงานศิลปะ ที่มีผู้นิยมดื่มกาแฟมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก บาริสต้า (Barista) หรือคนชงกาแฟ ได้ถ่ายทอดจิตนาการของตัวเอง โดยสร้างสรรค์เป็นลวดลายและภาพต่างๆ อย่างงดงาม อันเป็นที่มาของลาเต้อาร์ต และจากความประทับใจในลวดลายอันสวยงามนี้ จึงทำให้ศิลปะบนฟองนมแพร่หลายไปยังประเทศต่างๆ และได้ความนิยมมาถึงปัจจุบัน “Latte Art” originated in Italy, like so many other arts. In this country, where people drink more coffee than most, the barista or coffee maler, has to be especially skilled and able to make each cup of coffee a work of art. From this, the idea of creating works at art in milk from and creama spread around the world.

เทคนิคการทำ Latte Art มี 2 แบบ คือ 1. Free Pouring คือเทคนิคการเทโฟมนมลงในน้ำกาแฟ ให้เกิดลวดลายรูปต่างๆ เช่น รูปใบไม้, รูปหัวใจ เป็นต้น 2. Etching คือการเทโฟมนมลงในถ้วยกาแฟ แล้วแต่งหน้าด้วยไซรัป หรือซอสรสชาติต่างๆ เช่น ซ๊อกโกแลต, สตอเบอรี่ และใช้อุปกรณ์ขีดหรือเขียนให้เป็นลวดลาย เช่น ลายก้นหอย, ลายใยแมงมุม There are two teachniques to create “Latte Art” 1. Free Pouring : The barista manipulates the flow of milk into the coffee, creating designs such as leave or heart. 2. Etching : Designs are drawn into the milk foam using utensils and powders or syrups.

ที่มา : BLACK CANYON COFFEE