skip to main |
skip to sidebar
การเปิดร้านกาแฟ (ภาค 2)
เรื่อง การเปิดร้านกาแฟ (ภาค 2)
วิวัฒนาการของร้านกาแฟ
เริ่มจากรถเข็นขายกาแฟที่เราท่านเคยเห็นกัน จะมีถุงลวกกาแฟแล้วเทใส่น้ำตาล ใส่นม คนให้เข้ากัน แล้วก็ต้องทานกับปาท่องโก๋ ซึ่งเป็นของคู่กัน และมีโต๊ะกลมและเก้าอี้นั่ง มักจะพบเห็นได้ตามตลาดสด สถานที่คนพลุกพล่าน ฯลฯ และ Design จะเป็นแบบเรียบ เน้นขายผลิตภัณฑ์มากกว่าขาย Design หรือรูปลักษณ์ข้อดี – ปัจจุบันเราจะเห็นว่า กาแฟมีบทบาททางสังคมมาก จะเห็นได้ว่าร้านส่วนมากไม่ว่าจะเป็นร้านขนม – อาหาร – เครื่องดื่ม ล้วนแล้วแต่จะมีกาแฟร่วมด้วยทั้งนั้น กาแฟจึงเป็นสินค้าที่มีการพัฒนามาจนมีหน้าตาและ Design ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวด้วย ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบ สีสัน ฯลฯ เราจะเห็นว่างาน Design ได้มีบทบาทในการพัฒนาร้าน กาแฟเพราะนั่นคือ รูปลักษณ์ใหม่ของร้านกาแฟ ดังที่เราเห็นในปัจจุบันคอนเซ็ปท์
ร้านกาแฟ
คือ การสรุปความคิดรวบยอดในการออกแบบร้าน ซึ่งเป็นความต้องการหลักของเจ้าของร้าน มารวมกับหลักการและแนวทางในการออกแบบ เพื่อสร้างบรรยากาศและรูปลักษณ์ร้าน ให้ดูน่าเชื่อถือ คือ ให้ความรู้สึกที่ดี โดยจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบหลัก ๆ ดังนี้
1.กลุ่มลูกค้าเป็นกลุ่มไหนคนทำงานนักศึกษานักธุรกิจคนทั่วไป ฯลฯ
2.สถานที่ก็เป็นส่วนสำคัญในการเปิดร้าน ถ้าอยู่ในย่านธุรกิจก็จะทำให้มีจุดขายดี รวมกับการตกแต่งร้านที่ดี
3. งบประมาณจะเป็นตัวกำหนดว่าจะได้ร้านขนาดไหน รูปแบบแค่ไหน
4.สินค้าที่ขายดูว่ามีสินค้าร่วมในการขายอะไรบ้าง เช่น เบเกอรี่ เหล่านี้คือปัจจัยหลัก ๆ ในการประกอบแบบ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้การออกแบบมีความสมบูรณ์และลงตัวชนิดของร้านกาแฟ
ถ้าพูดถึงชนิดของร้านกาแฟแล้ว ปัจจุบันนี้มีมากมายหลายชนิด หลายขนาด ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ ความต้องการของผู้ที่จะเปิด และงบประมาณที่จะเป็นตัวกำหนดชนิด ขนาดของร้านกาแฟนั้น ๆ คงไม่สามารถแยกละเอียดได้ แต่เราจะพูดถึงชนิด
– ขนาดลักษณะหลัก ๆ ที่เราเห็นกันทั่วไปเริ่มจาก
1.ขนาดเล็ก ๆ พื้นที่ 1 เมตร ถึง 2 เมตร เป็นเหมือนรถเข็น สามารถเคลื่อนที่ได้ ขายกาแฟซึ่งจะเน้นขายกาแฟเป็นตัวหลัก สถานที่ที่พบส่วนมากก็ตามตลาดท้องถนน และปัจจุบันมีการออกแบบหน้าตาให้ดีขึ้น และมาอยู่ในพื้นที่ของศูนย์การค้า ตามมหาวิทยาลัยตามย่านธุรกิจ ซึ่งขนาดของร้านถือว่า เป็นการใช้งบประมาณลงทุนไม่สูงเกินไปในการเริ่มต้น
2.ขนาดกลาง ซุ้มขนาดพื้นที่ 2 -20 ตารางเมตร ส่วนมากจะเป็นแบบที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งเน้นขายกาแฟ แต่ก็ขณะเดียวกันก็อาจมีสินค้าอื่นร่วมด้วย เช่น เครื่องดื่มประเภทต่าง ๆ นม ฯลฯ รวมถึงเบเกอรี่ ฯลฯ พื้นที่หรือชนิดร้านขนาดนี้สามารถที่จะมีมุมให้ลูกค้านั่งได้ อาจเคาน์เตอร์บาร์เล็ก ๆ ชุดโต๊ะนั่งทาน 2 – 3 คน หรือถ้ามีเนื้อที่รอบร้านเยอะ ๆ ก็สามารถจัดโต๊ะเพิ่มได้อีก สถานที่ที่พบส่วนมาก ร้านชนิดนี้จะพบตามศูนย์การค้า มินิมาร์ท ปั๊มน้ำมัน ตามแหล่งธุรกิจ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับสถานที่เป็นหลัก ถ้างานภายในก็อาจเป็นเคาน์เตอร์ และมีที่นั่งหลายชุด ถ้าเป็นงานข้างนอก ก็อาจจะเป็นซุ้ม หรือมีหลังคากันแดดฝน ขนาดของร้านนี้ก็ใช้งบประมาณลงทุนมากกว่าขนาดแรก
3.ขนาดใหญ่ ร้านกาแฟที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 20 ตารางเมตร ขึ้นไป ชนิดของร้านขนาดใหญ่นี้ ค่อนข้างจะมีความหลากหลายของสินค้า มีให้เลือกเยอะขึ้น เช่น กาแฟก็มีรสชาติมากขึ้น ร้อน – เย็น – ปั่น ฯลฯ ส่วนมากจะขายคู่กับเบเกอรี่ ร้านขนาดใหญ่จะมีสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาเป็นช่วง ๆ เพื่อเป็นจุดขายเพิ่มสีสัน รสชาติ และการ Design ในร้านขนาดใหญ่นี้ จะค่อนข้างสำคัญมาก ๆ เพราะถ้าร้านใหญ่ แต่ภายในออกแบบไม่ดึงดูดก็จะทำลายจุดขายได้ เพราะพฤติกรรมลูกค้าที่จะเข้ามาในร้าน ส่วนมากไม่ได้มานั่งดื่มหมดแล้วเดินไป แต่มานั่งคอยติดต่องาน ทำงานซึ่งถ้าเข้ามาแล้วให้ความรู้สึกที่ดีต่อลูกค้าแล้ว จะทำให้ลูกค้ามาบ่อยขึ้น และร้านกาแฟขนาดใหญ่นี้ยังต้องมีองค์ประกอบอื่น ๆ มาช่วยด้วย เช่น มีอินเตอร์เน็ท ซึ่งเราจะเห็นกันมากในอินเตอร์เน็ท ซึ่งเราจะเห็นกันมากในอินเตอร์เน็ทคาเฟ่ ในบ้านเรา ปัจจุบันจึงมีเกิดขึ้นมากมาย สถานที่ที่เราจะพบร้านขนาดใหญ่ส่วนมากตามพื้นที่ศูนย์การค้า ออฟฟิศ แหล่งธุรกิจแหล่งท่องเที่ยว แหล่งชุมชน ฯลฯ ซึ่งจะอยู่ภายในตัวอาคารมากกว่างบประมาณการลงทุนคร่าว ๆ ในการออกแบบตกแต่งร้านชนิดขนาดเล็กค่าออกแบบและตกแต่งประมาณ 25,000-50,000 บาทชนิดขนาดกลางค่าออกแบบและตกแต่งประมาณ 150,000-500,000 บาทชนิดขนาดใหญค่าออกแบบและตกแต่งประมาณ 500,000 บาทขึ้น
จริง ๆ แล้ว ชนิดหรือขนาดของร้านนั้นมีมากกว่า ที่กล่าวมาข้างต้น ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลัก ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่หลัก ๆ ก็คือ งบประมาณ จะเป็นตัวกำหนดชนิดหรือขนาดของร้านนั้น ๆ การพิจารณาค่าใช้จ่ายในการออกแบบปัจจัยในการพิจารณาค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
1.กลุ่มลูกค้า – ทำเลเช็คว่าลูกค้ากลุ่มไหน คือ เรารู้ว่าเราขายใคร คนกลุ่มไหน เราสามารถรู้พฤติกรรม ความต้องการได้ไม่ยาก และปรับเข้าหาลูกค้า เพราะกลุ่มลูกค้าก็จะเป็นตัวกำหนดราคาสินค้าของเราได้ ทำเลก็มีผลต่อการออกแบบ คือต้องให้สอดคล้องกับย่านนั้น ๆ หรือมีเอกลักษณ์ที่ไม่ขัดแย้งกับกลุ่มลูกค้า
2.ขนาดของร้าน + งบประมาณเมื่อเราได้กำหนดขนาดความชัดเจนของร้าน แล้วกับงบประมาณที่ตั้งไว้อย่างชัดเจน3.สินค้าในงานมีอะไรบ้างเช่น มีกาแฟกี่ประเภท อะไรบ้าง มีอะไรเข้ามาร่วมด้วย เช่น ขนมปังปิ้ง – นม ฯลฯเมื่อเราได้ข้อมูลหรือ Concept แล้ว ก็มาดูเรื่อง Style หรือรูปแบบที่ชอบและสนใจ สีสันรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้จะเป็นข้อมูลในการออกแบบวัสดุ อุปกรณ์ในการตกแต่งอะไร? ที่เป็นตัวผันแปรของค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
วัสดุในการตกแต่งก็เป็นปัจจัยที่กำหนดค่าใช้จ่าย เพราะราคาสูง-ต่ำ ขึ้นอยู่กับวัสดุด้วย ถ้าจะให้ดูสวยงามก็เลือกใช้แบบดีหน่อย ค่าใช้จ่ายก็สูงขึ้นรวมถึงความแข็งแรงด้วย วัสดุจึงเป็นตัวแปรค่าใช้จ่ายในการออกแบบของท่านด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ในการออกแบบ เช่น รายละเอียดในการใช้งาน คือ ความต้องการของเจ้าของร้าน ที่อยากให้ร้านสามารถทำโน่น-นี่อะไรได้มาก ๆ เพิ่ม Function การใช้งานก็จะเป็นตัวแปรที่จะเพิ่มค่าใช้จ่ายในการออกแบบเมื่อเราได้ข้อมูล หรือ คอนเซ็ปท์ แล้วก็มาดูเรื่องสไตล์ หรือรูปแบบที่สนใจ สีสันรายละเอียดต่าง ๆ เหล่านี้ จะเป็นข้อมูลในการออกแบบ วัสดุ อุปกรณ์ในการตกแต่งสไตล์ในการตกแต่งร้านกาแฟ
ไม่ได้มีข้อจำกัดตายตัวว่าจะเป็นสไตล์ไหน เพราะมีมากมายหลากหลายขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่หลักที่เราพบเห็นส่วนใหญ่ ร้านกาแฟส่วนมากจะนิยมกัน ซึ่งจะยกตัวอย่างให้เห็นกัน 2 สไตล์
1. สไตล์แนวธรรมชาติ บรรยากาศสบาย ๆ (Country)
วัสดุที่ใช้ตกแต่งส่วนใหญ่จะเป็นวัสดุจาก ธรรมชาติไม้ หิน ทราย หรือ แม้แต่โทนสีที่ใช้ก็ใกล้เคียงกับธรรมชาติ เหมือนจำลองธรรมชาติเข้ามาไว้ในร้าน บรรยากาศจะสบาย ๆ สไตล์นี้จึงเหมาะกับร้านที่อยู่ตามท้องถิ่น – ชานเมือง มากกว่าในเมือง แต่ก็สามารถอยู่ในเมืองได้ ก็ต้องออกแบบให้สอดคล้องกับสถานที่นั้น ๆ
2. แนวสมัยใหม่ ๆ (Modern)
งานแนวนี้ ปัจจุบันจะเห็นมาก เพราะสามารถปรับใช้ให้กลมกลืนกับงานทั่วไปได้ วัสดุที่ใช้ก็มีมากมายหลากหลาย ทั้งไม้ ทั้งโลหะ ฯลฯ มีลูกเล่นมาก สไตล์นี้จะเน้นความเรียบง่าย + การตัดทอนงานให้ดูลงตัว โดยใช้สีเป็นตัวหลัก
- สีอ่อน สว่างสดใส ดูเบา ๆ สบาย ๆ
- สีเข้ม ให้มีน้ำหนัก จุดเน้น จุดรองดังนั้นสไตล์ในการออกแบบจึงไม่มีข้อสรุปตายตัว ขึ้นกับความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการส่วนดีในการออกแบบ
เป็นการสร้างเอกลักษณ์ของร้าน ให้คนจดจำได้ง่าย รวมถึงเป็นการสร้าง บรรยากาศ ให้ลูกค้ารู้สึกดีและยังเป็นตัวเพิ่มยอดขายได้อีกด้วย และคงจะถูกใจคอกาแฟหลาย ๆ ท่านปัญหาในการออกแบบ
- ความไม่แน่นอนของสถานที่ ปัญหาที่เกิดขึ้นหน้างาน งบประมาณที่จำกัด
- ความหลากหลายของลูกค้าที่ยังไม่มีข้อสรุป
- ระยะเวลาที่รวดเร็วชนิดเร่งด่วนเป็นตัวปิดกั้นความคิดในการออกแบบแนวทางการแก้ไข
ควรจะมีการสรุปสถานที่ที่ชัดเจน สรุปความคิดของลูกค้าที่หลากหลาย โดยการชี้แจงให้เห็นภาพรวมถึงการ เปรียบเทียบให้เห็นภาพที่ชัดเจนต้องจัดระบบ ความคิดวางแผนเป็นขั้นตอน เป็นเรื่อง ๆ รวมถึงเวลาที่พบเหมาะ ในการหาข้อมูลเสริมในการ ออกแบบ ถ้าอยากได้แบบดี สวยก็ใช้เวลาเพิ่มขึ้น เหล่านี้เป็นการอธิบายให้เจ้าของ ร้านทราบ และร่วมกันแก้ไขหาข้อสรุปต่อไป
ที่มา : หนังสือโอกาสธุรกิจ & แฟรนไชส์ โดย บริษัท แฟรนไชส์โฟกัส