4.11.08

กาแฟอราบิก้าไทย (3)

กาแฟอราบิก้าไทย.3

เมล็ดกาแฟสุกแดง เข้าเครื่องขยี้เปลือกออกแล้ว นำไปตากจนแห้งก็จะได้กาแฟกะลา เก็บบรรจุไว้จำหน่าย

การบรรจุ (Packing) เมล็ดกาแฟที่ได้ควรเก็บไว้ในรูปของกาแฟกะลา (Parchment Coffee) เพราะจะสามารถรักษาเนื้อกาแฟและป้องกันความชื้นกาแฟได้ดี ควรบรรจุในกระสอบป่านใหม่ ในปัจจุบันจะบรรจุกระสอบพลาสติ๊กตาข่ายโปร่ง ระบายอากาศได้ดี และ เก็บในโรงเก็บที่มีอากาศถ่ายเท ได้สะดวก ไม่อับชื้น หรือมีกลิ่นเหม็น กาแฟที่จะนำไปแปรนรูปควรเก็บใว้ไม่น้อยกว่า 6-12 เดือน กาแฟกะลาจะเก็บไว้ได้นานนับปี และก่อนที่จะนำไปใช้ ก็เอาออกมาผึ่งแดดอีกครั้ง เพื่อนำไปเข้าเครื่องสีกาแฟกะลา ให้ออกมาเป็นสารกาแฟ

การสีกาแฟกะลา (Hulling] กาแฟกะลาที่จะนำไปจำหน่ายควรจะทำการสีเพื่อเอากะลาออกด้วยเครื่องสีกะลา จะได้สารกาแฟ (Green Coffee) ที่มีลักษณะผิวสีเขียวอมฟ้า

สารกาแฟ (Green coffee) ที่ผ่านเครื่องสีเอากะลาออกแล้ว จึงนำมาคัดขนาดเพื่อแบ่งเกรด โดย ใช้ตะแกรงร่อนขนาดรู 5.5 มิลลิเมตร เพื่อแยกสารกาแฟที่สมบูรณ์ จากสารกาแฟที่แตกหักรวม ถึงสิ่งเจือปน เมล็ดกาแฟที่มีสีดำ (black bean) ซึ่งเกิดจากเชื้อราบางประเภท การคัดปัจจุบันยังใช้แรงงานคนด้วยการคัดมือ เอาเมล็ดเสีย เมล็ดอ่อน-หัก ทิ้งอีกชั้นหนึ่ง ก่อนที่จะนำไปแปรรูปต่อ เป็นกาแฟคั่ว เกรด


A-1ขนาดของเมล็ดตั้งแต่ 6.1มิลลิเมตรขึ้นไป สีเขียวอมฟ้ามีเมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือเมล็ดขนาดเล็กกว่า 6.1มิลลิเมตร ไม่เกินร้อยละ 13 (มาตรฐานใหม่ปี 49)

เกรด A ขนาดของเมล็ดตั้งแต่ 5.5 มิลลิเมตรขึ้นไป สีเขียวอมฟ้ามีเมล็ดไม่สมบูรณ์ หรือเมล็ดขนาดเล็กกว่า 5.5 มิลลิเมตร ไม่เกินร้อยละ 13เมล็ดแตกเสีย มีเมล็ดที่เป็นเชื้อราหรือมีสีผิดปกติ ไม่เกินร้อยละ 1.5 ความชื้นไม่เกินร้อยละ 13 %

เกรด Y ลักษณะเมล็ดแตกหัก หรือเมล็ดกลมเล็ก ๆ (Peaberries) ที่สามารถลอดผ่าน ตะแกงเบอร์ 12.5 (5.5 มิลลิเมตร)- มีสีเขียวอมฟ้า สิ่งเจือปนไม่เกิน 0.5 %- ความชื้นไม่เกิน 13 %

ที่มา : chiangmaicoffee.com