พันธุ์กาแฟ (Coffee Varieties)
๐ สายพันธุ์กาแฟที่มีชื่อเสียงทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นกาแฟอราบิก้า (Arabica) ทั้งสิ้น........ อาทิ..บลูเมาเทน(Blue Mountian) มอกก้า(Mokka)โคน่า(Kona) ทิปปิก้า(Typica) เบอร์บอน( Bourbon) และ อราบิก้าไทย ความผิดเพี้ยน สับสนในการเรียกชื่อกาแฟ สายพันธุ์ และ ชนิดกาแฟ นับเป็นปัญหายุ่งยาก หากไม่ได้ศึกษา-ค้นคว้า ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ อันนับว่ากว้างขวาง ละเอียดมากมายเกินความเข้าใจที่ถูกต้อง จึงขอประมวลและสรุปย่อพอให้ท่านที่สนใจทราบเป็นพื้นฐาน
กาแฟที่ปลูกเป็นการค้าในโลกนี้ แบ่งพันธุ์เป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้อยู่ 4 กลุ่มคือ..
1.กาแฟพันธุ์อราบิก้า (Arabica)
2.กาแฟพันธุ์โรบัสต้า (Robusta)
3.กาแฟพันธุ์เอ็กเซลซ่า (Excelsa)
4.กาแฟพันธุ์ลิเบอริก้า (Liberrica)
๐ กาแฟพันธุ์อราบิก้า เป็นกาแฟที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งมีผลผลิตประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของกาแฟที่ปลูกทั่วโลก
๐ กาแฟโรบัสต้า มีความสำคัญรองลงมาจากกาแฟอราบิก้า และ คุณภาพด้วยกว่าอราบิก้า
๐ กาแฟพันธุ์เอ็กเซลซ่า ไม่มีความสำคัญและปริมาณในทางการค้า เพราะคุณภาพไม่ดี มีกลิ่นเหม็นเขียว
๐ กาแฟพันธุ์ลิเบอริก้า เป็นกาแฟพื้นเมืองของแองโกล่า คุณภาพสารกาแฟไม่ดีพอ ไม่เป็นที่สนใจของตลาดและนักดื่ม
สรุปแล้วก็คือตลาดกาแฟสากลทั่วโลกนี้ มีกาแฟพันธุ์อราบิก้า และ โรบัสต้า สองสายพันธุ์ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไป.
กาแฟอราบิก้า แยกสายพันธุ์ต่างๆ (Arabica coffee varieties) กาแฟอราบิก้ามีโครโมโซม ที่สามารถผสมตัวเองได้ ทำให้มีการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding) โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย แต่อาจจะมีการแตกผ่าเหล่าขึ้นได้ เกิดเป็นสายพันธุ์ต่างๆหลายสายพันธุ์ พอแยกพันธุ์สำคัญได้ อาทิ
๐ พันธุ์ทิปปิก้า (Typica) มีลักษณะเด่นยอดเป็นสีทองแดง ติดลูกห่างระหว่างข้อ มีใบเล็กเรียบ เจริญเติมโตเร็ว แต่ไม่ทนต่อโรคฯลฯ เป็นพันธุ์ดั่งเดิมต้นกำเนิดของกาแฟอราบิก้า เริ่มปลูกในเยเมน แล้วแพร่หลายไปสู่ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์และฮาวาย
๐ พันธุ์บลูเมาเทน (Bule Mountion) กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทิปปิก้า นำไปปลูกที่บลูเมาเทนในจาไมก้า มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบนภูเขาที่สูง เป็นกาแฟที่มีคุณภาพและรสชาติดีมาก เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค ถือว่าเป็นกาแฟมีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของโลก จึงมีราคาแพงที่สุดเช่นกัน
๐ พันธุ์มอกก้า (Mocha หรือ Mokka) เป็นกาแฟส่งออกผ่านท่าเรือ โมช่า(Mocha) ใช้ชื่อการค้าว่า ม๊อกกา (Mokka) ใประเทศ อินโดนีเซีย มีความแตกต่างอย่างมากจากพันธุ์ที่ปลูกในแหล่งเดิม มีเอกลักษณ์กลิ่หอม ผลไม้คล้ายโกโก้ อย่างไรก็ตามพันธุ์นี้มีผลทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะมีปริมาณผลผลิตจำกัดที่ออกสู่ตลาด
๐ พันโคน่า (Kona) เป็นที่รู้จักดีสำหรับคอกาแฟในคุณภาพและรสชาติที่ติดอันดับต้นๆของกาแฟทั่วโลก ตามรูปแบบของกาแฟพันธุ์ทิปปิก้า ได้นำมาจากเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล มาปลูกในเมืองโคน่า ประเทศฮาวาย ภายใต้ชื่อการค้า "ฮาวายโคน่า"มีราคาที่แพงที่สุดในตลาดโลกเช่นเดียวกับ บลูเมาเทน
กาแฟอราบิก้ายังแยกพันธุ์ผสมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากมาย คือพันธุ์คาทูร่า (Catura) พันธุ์คาทุย (Catuai) พันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) พันธุ์เค้นส์ (Kent)ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะพิจารณาเห็นว่าเป็นชื่อจากแหล่งการเพาะปลูก หรือเมืองที่ปลูก อันมีรายละเอียดและความดีเด่น ในทุกมุมอย่างกว้างขวาง ตามข้อมูลการศึกษา-วิจัย
กาแฟอราบิก้าไทย
พันธุ์อราบิก้าชื่อ "คาติมอร์" (CatiMor) เป็นการเรียกชื่อพันธุ์มาจากคำว่า คาทูร่า(Catturra) และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์(Hibrido de Timor) เป็นชื่อเรียกตามการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างคาทูร่าผลแดง เป็นต้นแม่พันธุ์ และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์เป็นต้นพ่อพันธุ์ ผลการผสมระหว่างลูกผสมข้ามชนิด ทำให้ลูกผสมที่ได้มีความต้านทานต่อโรคราสนิม และ ได้ลักษณะทรงเตี้ย ผลผลิตสูง และใช้หมายเลข CIFC 19/1 และ 832/1 ซึ่งกำหนดโดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ Centro de Investicao -das Ferrugens de Cafeeiro (CIFC) ในประเทศโปรตุเกส
สถานีวิจัย CIFC ได้เริ่มแผนการปรับปรุงพันธุ์ในตอนต้นปี พ.ศ.2503 เป็นลูกผสมรุ่นที่ 1 รวมทั้งการศึกษาทดลองผสมพันธุ์กับกาแฟอราบิก้าตัวอื่นๆ อีกจำนวนมากมายหลายรุ่น หลายชั่วอายุสายพันธุ์ และได้นำมาคัดเลือกความต้านทานโรคราสนิม โรคอื่นๆในเมืองไทย รวมทั้งค้นหาศักยภาพในการให้ผลผลิต และ คุณภาพที่ดี ณ โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนากาแฟบนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งหน่วยงานพัฒนาเกษตรที่สูงหลายหน่วยงาน จนเป็นที่ยอมรับว่า พันธุ์กาแฟคาติมอร์ มีคุณภาพดีเหมาะสมแด่การส่งเสริมไปสู่แปลงปลูกของเกษตรกรชาวไทยภูเขา มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการศึกษา-วิจัย และติดตามประเมินผล ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเจริญเติมโต การดูแลรักษา ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ก็ยังต้องมีต่อไป.
ที่มา..พันธุ์กาแฟ จากหนังสือ การปลูกและการผลิตกาแฟอราบิก้าบนที่สูง โดย ศาสตราจารย์ ดร.พงษ์ศักดิ์ อังกสิทธิ์ (ปี พ.ศ.2537)
ที่มา : chiangmaicoffee.com