27.4.09

เคล็ดลับปรุงกาแฟแคลอรีต่ำ

เคล็ดลับปรุงกาแฟแคลอรีต่ำ

กาแฟลาเต้ ถ้วยขนาดใหญ่ถ้วยหนึ่งอาจให้พลังงานมากถึง 250-570 แคลอรี ซึ่งหากใครที่ดื่มกาแฟวันละหลายๆ ถ้วย โดยไม่คำนึงถึงแคลอรีเหล่านี้ คุณก็คงจะต้องรับแคลอรีจำนวนไม่น้อยเลย ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพแน่ๆ

ระหว่างวันของการทำงานที่รีบเร่ง กาแฟ ได้กลายเป็นเครื่องดื่มเคียงข้างโต๊ะทำงานของหลายคน ซึ่งบางคนนิยมดื่มกาแฟแทนน้ำเปล่าก็ว่าได้ นับๆ ดูแล้วในแต่ละวันบางคนอาจดื่มมากถึงวันละ 3-4 ถ้วยทีเดียว ซึ่งผลที่ตามมาก็อาจทำให้คุณได้รับคาเฟอีนจากกาแฟเข้าไปเกินพิกัดได้

ไม่เพียงแต่ได้รับคาเฟอีนมากเกินไปแล้ว กาแฟแต่ละถ้วยที่คุณชงดื่มนั้นยังอาจให้พลังงานสูงเสียด้วยซ้ำ โดยเฉพาะหากคุณเป็นคนที่ติดใจรสชาติหวานมันหอมหวนของกาแฟที่ผสมทั้งนม ครีม และน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นกาแฟไทยใส่นมข้นที่ขายตามรถเข็นข้างทาง กาแฟภาพลักษณ์หรูหราอย่างคาปูชิโน (cappuccino) ที่อุดมด้วยครีมลอยฟ่อง หรือบางคนนิยมกาแฟผสมนมสด ที่เรียกกันว่า ลาเต้ (latte) แต่ละแบบ แต่ละรสชาติ ก็จะให้พลังงานตามส่วนผสมที่ปรุงเข้าด้วยกัน

ใน Mayo Clinic Womens HealthSource ได้ยกตัวอย่าง เขาจึงได้แนะเคล็ดลับการดื่มกาแฟเพื่อสุขภาพ ดังนี้

หากในแต่ละวันคุณต้องดื่มกาแฟวันละหลายๆ ถ้วย ก็ควรเลือกถ้วยที่มีขนาดเล็กสักหน่อย ซึ่งการใช้ถ้วยกาแฟขนาด 8 ออนซ์ หรือ 12 ออนซ์ แทน mug ถ้วยโตๆ จะช่วยให้สามารถลดพลังงานได้ถึง 110 แคลอรีต่อครั้งเลยทีเดียว

การเติมความหอมมันให้กับกาแฟด้วยนมสดชนิดพร่องไขมัน (low fat / fat free milk) แทนนมข้น หรือนมสดแบบธรรมดา จะช่วยลดปริมาณพลังงานได้อีกประมาณ 80 แคลอรี และลดไขมันได้ประมาณ 8 กรัมต่อถ้วย

ใช้สารให้ความหวานแทนการใช้น้ำตาล เพราะถ้าคุณดื่มกาแฟ 5 ถ้วยต่อวัน และใส่น้ำตาล 2 ช้อนในแต่ละถ้วย นั้นเท่ากับว่าคุณจะได้รับแคลอรีเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 150 แคลอรีต่อวัน

ควรหลีกเลี่ยงที่จะเพิ่ม วิปครีม ช็อกโกแลต น้ำเชื่อม หรือของหวานใดๆ ก็ตามลงในกาแฟของคุณ เพราะสิ่งเหล่านี้มันประกอบไปด้วยแคลอรีจำนวนมากที่จะทำให้คุณอ้วนได้

ลองนำเคล็ดลับง่ายๆ เหล่านี้ไปใช้ในกาแฟถ้วยโปรดของคุณ อาจช่วยลดปริมาณแคลอรีที่จะสะสมในร่างกายได้ไม่น้อยเลยค่ะ

ที่มา: นิตยสาร Health Today


22.4.09

กาแฟมีประโยชน์หรือโทษอย่างไรต่อสุขภาพ?

กาแฟมีประโยชน์หรือโทษอย่างไรต่อสุขภาพ?

หลายคนจะดื่มกาแฟในตอนเช้า แทนอาหารเช้าไปเลย แต่บางคนก็ดื่มรอบบ่ายอีก แล้วคุณรู้ไหมว่ากาแฟนั้นสำคัญกับร่างกายมากน้อยแค่ไหน หรือว่ามีประโยชน์ต่อสุขภาพคนเราหรือไม่ปัจจุบันการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมการอย่างแพร่หลายตามปั้มน้ำมัน ตามห้างสรรพสินค้ามีการขายอย่างมากมาย จะเห็นได้ว่ากาแฟเป็นส่วนหนึ่งหรือบางคนอาจจะเป็นส่วนสองส่วนสามของชีวิตประจำวัน แต่จะมีใครกังวลหรือไม่ว่าที่เราดื่มทุกวันวันละหลายแก้วแล้วมันมีโทษ หรือคุณประโยชน์อะไรบ้าง หากคุณเป็นคอกาแฟคุณควรจะอ่านบทความนี้


ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟ ส่วนประกอบที่สำคัญของกาแฟคือ caffeine หรือมีชื่อทางเคมีว่า 1,3,7-trimethylxanthine ซึ่งเป็นอนุพันธ์ของยาขยายหลอดลม theophylline caffeine สามารถพบได้ในหลายชนิดได้แก่ เมล็ดคา เมล็ดกาแฟ ใบชา โคลา caffeineถูกผสมลงในน้ำอัดลม ยาแก้หวัดบางชนิด ยาแก้ปวด ยาลดน้ำหนัก กาแฟจะถูกดูดซึมอย่างรวดเร็วหลังจากที่เราดื่มกาแฟและจะถูกขับออกไปครึ่งหนึ่งในเวลาประมาณ 4 ชั่วโมงกาแฟจะไม่สะสมในร่างกายโดยจะถูกทำลายและขับออกหมด ผู้ที่สูบบุหรี่จะมีการขับถ่ายกาแฟมากกว่าผู้ที่ไม่สูบดังนั้นคนที่สูบบุหรี่หากต้องการการกระตุ้นของกาแฟจะต้องดื่มกาแฟบ่อยกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ คนท้องและผู้ที่กินยาคุมกำเนิดจะมีการขับกาแฟน้อยกว่าคนทั่วไป กาแฟจะออกฤทธิ์โดยการกระตุ้นสมองทำให้รู้สึกสดชื่นและมีสมาธิ ปริมาณ caffeine ที่มีในเครื่องดื่มแต่ละชนิดขึ้นกับความเข้มข้น ตารางข้างล่างเป็นตัวอย่างปริมาณกาแฟ

Milligrams of Caffeine

ชนิดของเครื่องดื่ม
Coffee (150ml cup) ปริมาณ Range*
ต้ม, drip method 115 60-80
เครื่องต้มกาแฟ 80 40-170
กาแฟสำเร็จ 65 30-120
Decaffeinated 3 2-5
Espresso (30ml cup) 40 30-50

Teas (150ml cup)
ชาที่ต้ม
ชาเป็นซอง
ชาเย็น (240ml glass)

น้ำอัดลม (180ml) 18 15-30
Cocoa beverage (150ml) 4 2-20
นมรสChocolate (240ml) 5 2-7
Chocolate
นม (30g) 6 1-15
Dark chocolate, semi-sweet (30g) 20 5-35
Cooking chocolate (30g) 26 26

นักวิทยาศาสตร์ประมาณว่าวันหนึ่งๆเราจะรับสาร caffeine ประมาณ 250-600 มก.ซึ่งไม่เกิดผลข้างเคียงต่อร่างกาย

ผลดีของกาแฟ กาแฟจะกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางทำให้ไม่ง่วง สมาธิในการทำงานดีขึ้น ผู้ที่ดื่มกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอน มีสมาธิในการทำงาน และยังทำให้ความสามารถในการทำงานดีขึ้น และยังลดอาการปวดเมื่อยเนื่องจากไขหวัด ผลต่อสมรรถภาพของร่างกายดีขึ้น เช่นการขี่จักรยาน การว่ายน้ำ เล่นกีฬาได้นานขึ้น ผลดีของกาแฟจะทำให้ไม่ง่วงนอนโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และช่วยลดอุบัติเหตุขณะขับรถ กระตุ้นอวัยวะของร่างกายและเพิ่มการเผาผลาญไขมันและช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย กาแฟจะมีฤทธิ์ขับปัสสาวะอ่อนๆดังนั้นขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกายไม่ควรรับเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของกาแฟเพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำ ดื่มนานๆจะติดกาแฟหรือไม่ องค์การอนามัยโลกกล่าวว่าไม่มีหลักฐานว่ากาแฟจะเป็นสารซึ่งหากดื่มนานๆแล้วจะเสพติด การดื่มกาแฟจะเป็นนิสัยมากกว่าเสพติดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณของกาแฟ และเมื่อหยุดกาแฟบางคนก็เกิดอาการปวดหรือมึนศีรษะเพียงเล็กน้อย

ผลดีของกาแฟต่อสุขภาพ โรคหอบหืด มีรายงานว่าการดื่มกาแฟวันละ 3 แก้วจะลดอาการหอบหืด หากดื่มมากกว่า 6 แก้วการทดสอบสมรรถภาพปอดจะดีขึ้น กาแฟก็เหมือนกับพืชอื่นๆมีสาร flavanoid ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ การดื่มกาแฟจะลดอาการง่วงนอน และทำให้มีสมาธิในการทำงานดีขึ้นโดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเป็นกะ และลดอุบัติเหตุขณะขับขี่ กาแฟช่วยลดอาการซึมเศร้าและคลายความวิตกกังวล การดื่มกาแฟเป็นประจำจะลดอุบัติการณ์การเกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ และยังลดอุบัติการณ์ของนิ่วในถุงน้ำดี มีหลักฐานพอจะเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่เมื่อดื่มวันละ 4 แก้ว

กาแฟกับสุขภาพสตรี กาแฟกับการตั้งครรภ์ The Food Standards Agency ก่อนหน้านี้มีความเชื่อว่าการดื่มกาแฟจะเป็นผลเสียต่อการตั้งครรภ์ แต่จากหลักฐานยังไม่พบผลเสียดังกล่าว ประเทศอังกฤษได้แนะนำว่าการดื่มวันละ 3-4 แก้วขณะตั้งครรภ์ไม่เกิดผลเสีย สำหรับผู้ที่ตั้งท้องหากงดได้ก็น่าจะงด การเป็นหมัน พบว่าหากดื่มกาแฟมากกว่า 1แก้วจะมีโอกาสเกิดการเป็นหมันเพิ่มขึ้น กาแฟกับโรคกระดูกพรุน ยังมีรายงานทั้งสนับสนุนว่าการดื่มกาแฟทำให้เกิดโรคกระดูกพรุน บางรายงานก็กล่าวว่าไม่เกิดโรค ผู้ที่เกิดโรคกระดูกพรุนมักจะได้รับแคลเซียมไม่พอแนะนำว่าควรจะดื่มนมเริมสำหรับผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2 แก้วขึ้นไป กาแฟกับโรคมะเร็ง มีรายงานจากWorld Cancer Research Fund ว่าการดื่มกาแฟปริมาณปานกลางไม่มีความสัมพันธ์กับโรคมะเร็ง

มีรายงานกล่าวว่าการดื่มกาแฟมีผลดีต่อการป้องกันมะเร็งตับอ่อนเล็กน้อย มีรายงานว่าการดื่มกาแฟอาจจะมีผลป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ๋ กาแฟกับโรคหัวใจ เท่ามีรายงานขณะนี้พบว่าการดื่มกาแฟวันละ 4 แก้วไม่มีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจ การดื่มกาแฟเป็นประจำไม่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น การดื่มกาแฟครั้งแรกจะทำให้ความดันขึ้นชั่วคราว กาแฟกับโรคเบาหวาน จากการศึกษาพบว่าการดื่มกาแฟจะทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินเพิ่มขึ้น 15 % กรดไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ฮอร์โมน epinephrineเพิ่มสูงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งอาจจะส่งผลเสียต่อผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ