20.2.09

พิถีพิถันกับความอร่อย

พิถีพิถันกับความอร่อย

การชงกาแฟให้ละเอียดอ่อนและต้องพิถีพิถันในทุกขั้นตอน แม้เมล็ดกาแฟจะผ่านกระบวนการคั่ว บด และชงที่ดีเลิศก็ยังไม่เพียงพอ เพราะยังมีเรื่องของการเก็บรักษารวมทั้งรายละเอียดการดูแลอุปกรณ์ต่างๆ และปัญหาอันอาจจะเกิดขึ้นนั้นตอนการชงที่เราไม่ควรละเลย

ศัตรูตัวฉกาจ
กาแฟชนิดเดียวกันแม้จะผ่านขั้นตอนที่เหมือนกัน แต่รสชาติและกลิ่นอาจเปลี่ยนแปลงได้ เพราะกาแฟนั้นมีความไวต่อสภาวะแวดล้อม ความชื้น ตลอดจนอุณหภูมิอย่างมาก

ศัตรูตัวสำคัญของกาแฟ คือ
ความชื้น
อุณหภูมิห้อง
แสงแดด
ออกซิเจนในอากาศ

น้ำมันหอมของกาแฟนั้นสามรถละลายได้ดีในน้ำ ดังนั้นจึงมีความไวต่อไอน้ำในอากาศ ในขณะที่ความน้อยและออกซิเจนเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้เร็วยิ่งขึ้น กาแฟที่ถูกความชื้นในอากาศทำลายจะมีกลิ่นหอมน้อยลง เมื่อนำมาชงจะมีรสชาติเหมือนกาแฟเก่า เก็บไว้นานและจางกว่าปกติ ดังนั้นไม่ว่าเราจะใช้เมล็ดกาแฟดิบดีจากแหล่งไหน ผ่านการคั่วด้วยเทคนิคที่ดีเพียงใด คุณค่า รสชาติ และกลิ่นกาแฟ พร้อมจะถูกทำลายลงได้หากถูกจัดเก็บอย่างผิดวิธี


รักษาคุณค่ากาแฟ
กาแฟที่คั่วแล้วไม่ว่าจะอยู่ในรูปเมล็ดหรือผงควรจะถูกจัดเก็บอย่างถูกวิธีเพื่อรักษาคุณภาพที่ดีของกาแฟ
เอาไว้

หลักในการเก็บกาแฟอย่างถูกวิธี
1. ควรเก็บกาแฟในภาชนะที่ปิดสนิทหรือภาชนะสูญญากาศ
2. ควรใช้ภาชนะที่ทำจากแก้วหรือเซรามิคเคลือบเงา ไม่ควรเป็นภาชนะโลหะหรือพลาสติก เพราะกาแฟจะดูดกลิ่นพลาสติกหรือโลหะเอาไว้
3. ควรเก็บให้พ้นแสงแดด ความร้อน และความชื้น
4. คำนวณปริมาณการใช้กาแฟให้พอเหมาะและตรวจสอบความใหม่ของกาแฟจากแหล่งที่ซื้อ
5. ควรซื้อเมล็ดกาแฟคั่วมาบดเองตามจำนวนที่ต้องการชง อย่าบดกาแฟจำนวนมากและทิ้งไว้นานๆ เพราะเมล็ดกาแฟจะสามารถเก็บคุณค่ารสชาติของกาแฟไว้ครบถ้วนและนานกว่า
6. หากจำเป็นที่ต้องเก็บกาแฟไว้นานกว่า 2 สัปดาห์หรือ 1 เดือน ควรนำกาแฟนั้นเก็บในช่องแข็งของตู้เย็น จัดแบ่งเป็นส่วนๆ ตามความต้องการใช้ในแต่ละครั้ง โดยจัดเก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิดป้องกันความชื้น

เคล็ดลับความอร่อย
1. ใช้เครื่องมือที่สะอาดอยู่เสมอ
2. น้ำที่ใช้ชงกาแฟควรเป็นน้ำสะอาด มีแร่ธาตุเจือปนอยู่ในระดับพอเหมาะ ไม่ควรใช้น้ำกระด้างเพราะมีแร่ธาตุเจือปนมากเกินไป และไม่ควรใช้น้ำกลั่นเพราะบริสุทธิ์เกินไป
3. อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะกับการชงกาแฟ ควรอยู่ระหว่าง 92-96 องศาเซลเซียส หรือประมาณ 94 องศาเซลเซียส
4. ใช้กาแฟที่บดอย่างถูกต้องสำหรับชนิดของเครื่องชงที่ใช้และกาแฟที่ใหม่สดอยู่เสมอในปริมาณที่เหมาะสม
5. ควรอุ่นถ้วยกาแฟทุกครั้งเพื่อรักษาอุณหภูมิของกาแฟ ถ้วยกาแฟที่อุ่นจะช่วยให้ครีมกาแฟของเอสเปรสโซ่หนาและคงอยู่ได้นานอีกด้วย
6. หากใช้เครื่องชงกาแฟชนิดที่อุ่นอยู่ตลอดเวลา ไม่ควรอุ่นกาแฟนั้นนานเกิน 30 นาที เนื่องจากกาแฟจะเริ่มเปลี่ยนไปแปลงหลังจากอุ่นไปได้ประมาณ 15 นาที กาแฟที่ถูกอุ่นจะมีกลิ่นและรสชาติที่เปลี่ยนหรือเสียไป นั่นคือ กลิ่นไม่หอม รสชาติเปรี้ยวและขม สีขุ่นโคลนไม่ใส
7. ไม่ควรนำกาแฟที่ชงกาแฟที่ชงเสร็จแล้วไปอุ่นหรือทำให้น้อยอีกครั้งเพราะจะทำให้กลิ่นและรสชาติเปลี่ยนไป หากดื่มกาแฟไม่หมดในทันที ควรเก็บน้ำกาแฟในภาชนะที่เก็บความร้อนได้ เช่นกระติก หรือแก้ว Thermos (แก้วรักษาอุณหภูมิ)

อุปสรรคความอร่อย
กาแฟที่ชงออกมาไหลเร็วเกินไป น้ำกาแฟมรสชาติอ่อนหรือจางเกินไป อาจมีสาเหตุดังนี้
1. ผงกาแฟน้อยเกินไป
2. กดกาแฟไม่แน่น (สำหรับเครื่องชงแบบเอสเปรสโซ่)
3. กาแฟบดหยาบเกินไป
4. กาแฟบดไว้นานเกินไป
5. กาแฟเก่าหรือคั่วมานาน
6. น้ำร้อนไม่พอหรือไม่ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม

กาแฟที่ชงออกมาไหลช้าเกนไป น้ำกาแฟมีรสาติเข้มเกินไป อาจมีสาเหตุดังนี้
1. กดกาแฟแน่นเกินไป (เครื่องชงแบบเอสเปรสโซ่)
2. . กาแฟบดละเอียดเกินไป
3. ผงกาแฟมากเกินไป

กาแฟที่ชงออกมามีกลิ่นไม่พึงปรารถนา มีรสขม อาจมีสาเหตุดังนี
1. กาแฟเก่าหรือคั่วมานาน หรือถูกจัดเก็บอย่างไม่ถูกวิธี
2. ใช้เวลานานเกินไปในการชง
3. เครื่องมืออุปกรณ์ไม่สะอาด
4. น้ำที่ใช้ชงกาแฟไม่สะอาด
5. ฟันบดของเครื่องบดทื่อหรือต้องการปรับให้เหมาะสม

กาแฟที่ชงได้สีอ่อน ดูเป็นน้ำ ไม่มีครีมกาแฟ (เฉพาะการชงแบบเอสเปรสโซ่) อาจมีสาเหตุดังนี้
1. น้ำร้อนไม่พอหรือไม่ได้อุณหภูมิที่เหมาะสม
2. ไม่ได้อุ่นด้ามอัดกาแฟหรือถ้วยกาแฟก่อน (สำหรับเครื่องชงแบบเอสเปรสโซ่)
3. กาแฟบดไว้นานเกินไป
4. กาแฟบดหยาบเกินไป
5. กาแฟเก่าหรือคั่วมานาน หรือถูกจัดเก็บอย่างไม่ถูกวิธี
6. ฟันบดของเครื่องบดทื่อหรือต้องการการปรับให้เหมาะสม

กาแฟกระเด็นออกจากด้ามอัดกาแฟในขณะที่ชงอยู่(สำหรับเครื่องชงแบบเอสเปรสโซ่) อาจมีสาเหตุดังนี้
1. ใส่ด้ามอัดกาแฟไม่ลงล็อค

2. มีผงกาแฟอยู่ตามขอบถ้วยของกาแฟ
3. ใส่ผงกาแฟมากเกินไป
4. กาแฟบดละเอียดเกินไป และกดแท่นนานเกินไป
5. ยางวงแหวน (Gasket) ของหัวชงกาแฟเสื่อมหรือไม่สะอาด