ฉลากกาแฟบอกอะไร ?
ความลำบากประการหนึ่งของคนดื่มกาแฟคั่วในบ้านคือการเลือกซื้อเมล็ดกาแฟคั่ว บางคนใช้อับดุล..เอ้ย กูเกิ้ล บางคนถูกเพื่อนหรือญาติพี่น้องแนะนำต่อๆ กันมา บางคนซื้อตามซุปเปอร์มาร์เก็ต บางคนซื้อตรงจากโรงคั่ว และบางคนซื้อผ่านเว็บช็อป กาแฟคั่วช่างมีมากมายเหลือเกิน ทำอย่างไรจะได้กาแฟที่ถูกใจโดยที่ไม่ต้องลองผิดลองถูกไปเรื่อยๆ
ผมมองว่าสิ่งที่น่าจะช่วยผู้บริโภคได้บ้าง คือข้อมูลจากฉลากบนซองกาแฟ เรื่องนี้คล้ายๆ กับฉลากบนขวดไวน์ แต่น่าเสียดายที่ฉลากส่วนใหญ่ให้ข้อมูลที่ลุ่มลึก และภาษาอ่านยากเกินไปโดยเฉพาะสำหรับมือใหม่
แต่อย่างน้อยผมยังอยากยกตัวอย่างข้อมูลบางประการที่อาจพบได้ ซึ่งสามารถช่วยในการเลือกซื้อกาแฟที่ถูกใจมากขึ้นดังนี้นะครับ
ชื่อผู้ผลิต ชื่อเบลนด์ รวมถึงสถานที่ติดต่อและที่ผลิตเป็นข้อมูลที่เราต้องดูไว้บ้างเพราะอาจพบกับผู้ผลิตที่มีชื่อเสียง และชื่อเคยผ่านหูมาบ้าง ส่วนชื่อเบลนด์นั้น บางแห่งก็ตั้งไว้ให้สื่อถึงรสชาติหรืออารมณ์ของกาแฟได้ บางชื่อยังแสดงถึงตัวตนของโรงคั่วด้วย เช่นเป็นฮิพโรสเตอร์ หรือเป็นโรสเตอร์แนวอนุรักษ์นิยม
ปริมาณกาแฟที่บรรจุ ซึ่งเราอาจพบว่าแต่ละโรงคั่วอาจบรรจุในปริมาณที่ต่างกัน เราต้องดูไว้บ้างเพื่อให้เหมาะกับการใช้งานของเรา และอีกแง่หนึ่งเพื่อเปรียบเทียบราคา
ระดับการคั่ว โดยมากมีอ่อนกลางเข้ม หรือ light medium dark roast หรือ city full city vienna french roast หรือชื่ออื่นเช่น american cinemon roast ต่างๆ เหล่านี้ สามารถบอกแนวรสชาติได้เช่นหากยิ่งคั่วเข้ม หมายถึงเราจะได้รสขมมากขึ้น หากคั่วอ่อนจะได้กลิ่นหอมแต่เปรี้ยวมากขึ้น
วันที่คั่ว จะทำให้เราทราบว่ากาแฟซองนี้มีอายุเท่าไหร่แล้ว กาแฟยิ่งสดใหม่ยิ่งหอมอร่อย แต่บ่อยครั้งเราพบว่าผู้ผลิตหลายรายกลับระบุวันหมดอายุแทนซึ่งไม่ได้ให้ประโยชน์เท่าใดนัก
พันธุ์กาแฟที่ใช้ บางครั้งเราอาจพบข้อมูลเบื้องต้นเช่น อราบิก้า 100% หรือบางครั้งอาจให้ว่า อราบิก้าและโรบัสต้า แต่หากมีข้อมูลที่ละเอียดมากขึ้นอาจระบุพันธุ์ย่อยของอราบิก้าไว้ด้วย เช่น เอสแอล28 คาทูร่า ทิปปิก้า พาคามาร่า ไกชา ฯลฯ ซึ่งจะทำให้เราเทียบลักษณะเฉพาะของแต่ละสายพันธุ์ได้ในอนาคต
ขบวนการผลิตสารกาแฟที่ใช้ เช่นกระบวนการแบบเปียกหรือ wet process บางครั้งเรียกกาแฟล้างหรือ washed coffee จะให้รสชาติสะอาดใสกว่ากาแฟจาก dry process หรือ แบบ semi dry process ซึ่งจะมีความหวานและความเป็นผลไม้มากแต่ไม่ใสเท่า
แหล่งปลูกกาแฟ กาแฟแต่ละแหล่งมีบุคลิกรสชาติไม่เหมือนกัน การระบุแหล่งปลูกที่ชัดเจนจะทำให้เราได้ความรู้ และทำให้สามารถเลือกกาแฟได้ถูกใจได้มากขึ้นเรื่อยๆ เช่นกาแฟจากบราซิลมักมีกลิ่นรสของถั่วและออกครีมๆ กาแฟจากเคนยาจะมีความเป็นผลไม้สูงมาก กาแฟจากอินโดนีเซียจะมีกลิ่นของเครื่องเทศมาก และหากกาแฟถุงนั้นเป็นกาแฟที่เบลนด์จากหลายแหล่ง การบอกแหล่งปลูกรวมถึงอัตราส่วนที่ใช้จะทำให้เราพอจะเห็นแนวโน้มของรสชาติของถุงนั้นได้ อย่างเช่นกาแฟเบลนด์จากบราซิล 50% กับเคนยา 50% น่าจะให้รสชาติที่เป็นผลไม้มาก มีกลิ่นหอมมาก ในขณะที่กาแฟเบลนด์จากบราซิล 50% กับสุมาตราอินโดฯ 50% น่าจะให้รสชาติแบบโทนต่ำ เมลโลกว่า และเป็นช็อคโกแล้ตมากกว่า
รสชาติที่ควรจะได้ หรือคัพโปรไฟล์ ของกาแฟในถุงนั้น อันนี้ควรระบุด้วยว่าเป็นคัพโปรไฟล์ของการชงดื่มด้วยวิธีใด เช่นการชงด้วยวิธีเอสเปรสโซอาจให้รสชาติบางอย่างต่างจากการชงแบบแช่น้ำ แต่ทั้งนี้เราต้องหมายเหตุไว้ว่าการชงกาแฟเป็นเรื่องละเอียดอ่อน มีปัจจัยประกอบมากมายมหาศาล โอกาสที่เมื่อเราชงออกมาได้รสชาติต่างจากที่ฉลากว่าไว้มีค่อนข้างมาก อย่างไรเสียน่าจะพอใช้เป็นแนวทางได้บ้าง
อื่นๆ เช่นคำแนะนำในการชงต่างๆ อุณหภูมิน้ำ ปริมาณกาแฟ หรือเทคนิคเฉพาะบางอย่างที่โรงคั่วอยากให้เราใช้เพื่อให้ได้รสชาติอย่างที่เขาต้องการนำเสนอ ส่วนข้อมูลอื่นๆ อีกอาจเป็นเรื่องราว หรือการแนะนำตัวสั้นๆ ของโรงคั่ว หรือตัวกาแฟที่อยู่ในถุงนั้น ถือเป็นมาร์เก็ตติ้งที่อาจใช้ประกอบในการเลือกซื้อได้ด้วย
เอาเท่านี้ก่อนนะครับ หวังว่าคงพอเป็นแนวให้กับท่านได้บ้าง หากพบข้อมูลบนฉลากที่น่าสนใจจะนำมาแบ่งปันเล่าให้ฟังกันบ้างก็ยินดีนะครับ
18.5.09
13.5.09
มาสั่งกาแฟเอสเปรสโซดื่มกันดีมั๊ย
มาสั่งกาแฟเอสเปรสโซดื่มกันดีมั๊ย ?
คนไทยส่วนใหญ่นิยมดื่ม “กาแฟเย็น” แบบที่มีส่วนผสมของนมข้นมาช้านาน ตั้งแต่เกือบร้อยปีมาแล้วที่ชงด้วยวิธีต้มกรอง เดี๋ยวนี้หลายคนเรียก “กาแฟโบราณ” เมื่อการใช้เครื่องเอสเปรสโซเป็นที่นิยม เราจึงสกัดกาแฟด้วยเครื่องแต่ยังคงหยอดนมข้นลงไปเช่นเดิม ว่ากันว่าได้กาแฟเข้มข้นหอมอร่อยขึ้น เพราะเครื่องใช้ความดันในการสกัดกาแฟมาก และเมล็ดกาแฟที่ใช้เดี๋ยวนี้ก็ใช้กาแฟ 100% คือไม่ผสมวัตถุดิบอื่นๆ ลงไป แลดูเป็นสากลมากขึ้น จะมีบ้างเป็นส่วนน้อยครับที่ชอบดื่มกาแฟดำเราเรียก “โอเลี้ยง” เมื่อเราจะดื่มในบ้านหรือในสำนักงานเรายังนิยมดื่มเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่ต้องใส่ทั้งครีมเทียมและน้ำตาลให้รสชาติไปในทางเดียวกับกาแฟเย็นดังว่า ภายหลังยิ่งง่ายขึ้นอีกเพราะผสมมาให้อร่อยทันใจในแบบ “ทรีอินวัน”
เราก็ดื่มกันอย่างนี้ครับเป็นวัฒนธรรมของเรา เป็นแบบ “ไทยๆ” ฝรั่งมังค่าเข้ามาเยี่ยมเยียนเป็นที่รับรู้กันบางคนได้ดื่มกาแฟเย็นของเราก็ชอบ อีกหลายคนต้องทำการบ้านมาก่อนในการหากาแฟรสสากลดื่มเพื่อความอยู่รอด ผมเกริ่นมายาวยืดเพื่อเข้าเรื่องตรงนี้นี่เองครับว่า ในความเป็นจริงแล้วทางสากลอาจมีวิถีแนวทางการดื่มกาแฟต่างไปจากเราบ้าง คืออย่างน้อยจะไม่นิยมใช้นมข้นทั้งจืดและหวาน จุดนี้เป็นจุดสำคัญครับ เพราะทำให้องค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ตามมาพลอยแตกต่างกันไปด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ “เมล็ดกาแฟคั่ว” ที่ใช้
ในเมื่อไม่ใช้นมข้น เมล็ดกาแฟคั่วที่ใช้จึงไม่จำเป็นต้องเข้มมากจนไหม้ นมข้นหวานในกาแฟเย็นแบบไทยจะลดความขมไหม้ของกาแฟลงทำให้รสกลมกล่อมมากขึ้น (แต่อาจเป็นความกลมกล่อมแบบขนม) แม้นในบางวัฒนธรรมนิยมใช้นมในกาแฟมากอย่างเช่นวัฒนธรรมอเมริกัน กาแฟจะคั่วค่อนข้างเข้มแต่ก็ไม่ขมไหม้อย่างที่บ้านเรานิยม ยิ่งเมื่อหันไปมองวัฒนธรรมกาแฟในยุโรปหรือโดยเฉพาะในอิตาลียิ่งใช้นมน้อยลงนิยมดื่มแต่กาแฟดำ เมล็ดกาแฟคั่วที่ใช้ยิ่งคั่วอ่อนลงไปอีก
วัฒนธรรมกาแฟที่แตกต่างเป็นเรื่องของสังคม เป็นเรื่องของความนิยม ไม่มีใครดีกว่าใครครับ แต่โดยปกติในการใช้ชีวิตของคนเรา หากแม้นมีโอกาส การได้พลัดหลงไปในวัฒนธรรมที่แตกต่างย่อมทำให้ชีวิตมีสีสันมากขึ้น เป็นการเปิดโลกทัศน์ เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเรามีอะไรให้เลือกมากขึ้น เป็นเสน่ห์ของการใช้ชีวิต ที่จั่วหัวเรื่องไว้เป็นการเชิญชวนให้ลองดื่ม “เอสเปรสโซ” กันนั้น เป็นการเชิญชวนให้พลัดไปในอีกวัฒนธรรมหนึ่งนั่นเอง
“เอสเปรสโซ” ในความหมายนี้คือ เอสเปรสโซช็อต เป็นน้ำกาแฟจากเครื่องเอสเปรสโซปริมาณแค่ 1 ออนซ์ ในถ้วยใบเล็กๆ แบบที่ชนอิตาเลี่ยนนิยมนักหนา ว่ากันว่าเอสเปรสโซที่แท้จริงจะต้องมีรสชาติเข้มข้น กลิ่นหอมแรงลึกเข้าไปในโพรงจมูก มีรสเปรี้ยวหวานและขมผสมกันลงตัวกล่อมกลม มีความซับซ้อนซ่อนไปด้วยรสช็อคโกแล้ต ผลไม้ และดอกไม้ ใครที่เคยดื่มเอสเปรสโซที่ดีๆ ย่อมเห็นด้วยในข้อความนี้ แต่ “กาแฟดีไม่เคยเป็นเรื่องง่าย” เอสเปรสโซดีๆ ในเมืองไทยยิ่งหายาก
ผมอุตส่าห์เชิญชวนไว้แล้วย่อมต้องรับผิดชอบด้วยการบอกใบ้เล็กน้อย หากจะเริ่มชิมเอสเปรสโซกันน่าจะลองชิมจากร้านกาแฟเล็กๆ ที่แสดงออกถึงความใส่ใจในกาแฟพอสมควร มีเครื่องไม้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มีพนักงานที่ถูกฝึกมาอย่างดี หรือหากเจ้าของร้านยืนชงเองยิ่งดี ร้านไหนขายกาแฟร้อนดีมีลูกค้าเยอะ โอกาสจะได้เอสเปรสโซดีย่อมมีสูง ถ้าเป็นลูกค้าร้านใดอยู่แล้วและสัมผัสได้ว่ารสกาแฟไม่ขมไหม้ยิ่งน่าลองสั่งเอสเปรสโซดื่มดู ถ้าร้านไหนใช้กาแฟที่คั่วเข้มสักหน่อยให้ใส่น้ำตาลลงไปช่วยบ้าง สำหรับเชนกาแฟส่วนใหญ่ผมพบว่าเอสเปรสโซมีรสขมมากเพราะในร้านขายกาแฟเย็นกาแฟปั่นมาก ที่เคยดื่มแล้วรู้สึกดีออกชื่อได้มีเชสเตอร์คาเฟ่สาขาฟอร์จูนทาวน์รสชาติเอสเปรสโซใช้ได้แต่น้ำกาแฟมากไปนิดและไม่แน่ใจว่าสาขาอื่นจะเป็นเช่นไร ที่ซีททูคัพเองเราก็พยายามทำเอสเปรสโซให้ได้ดีแต่เรามีสาขาเดียวคงไม่สะดวกสำหรับทุกคน จึงได้แต่เชิญชวนให้ลองกันเมื่อมีโอกาส เป็นกำลังใจให้เสี่ยงสั่งมาดื่มดูบ้าง หากโชคดีได้พบเอสเปรสโซที่ดีอาจเป็นการเปิดโลกแห่งการดื่มกาแฟให้ท่านได้ ใครมีร้านกาแฟที่มีเอสเปรสโซดีๆ จะมาแนะนำแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณ แต่ย้ำว่าเป็นเอสเปรสโซนะครับ มิใช่เอสเปรสโซเย็น
คนไทยส่วนใหญ่นิยมดื่ม “กาแฟเย็น” แบบที่มีส่วนผสมของนมข้นมาช้านาน ตั้งแต่เกือบร้อยปีมาแล้วที่ชงด้วยวิธีต้มกรอง เดี๋ยวนี้หลายคนเรียก “กาแฟโบราณ” เมื่อการใช้เครื่องเอสเปรสโซเป็นที่นิยม เราจึงสกัดกาแฟด้วยเครื่องแต่ยังคงหยอดนมข้นลงไปเช่นเดิม ว่ากันว่าได้กาแฟเข้มข้นหอมอร่อยขึ้น เพราะเครื่องใช้ความดันในการสกัดกาแฟมาก และเมล็ดกาแฟที่ใช้เดี๋ยวนี้ก็ใช้กาแฟ 100% คือไม่ผสมวัตถุดิบอื่นๆ ลงไป แลดูเป็นสากลมากขึ้น จะมีบ้างเป็นส่วนน้อยครับที่ชอบดื่มกาแฟดำเราเรียก “โอเลี้ยง” เมื่อเราจะดื่มในบ้านหรือในสำนักงานเรายังนิยมดื่มเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่ต้องใส่ทั้งครีมเทียมและน้ำตาลให้รสชาติไปในทางเดียวกับกาแฟเย็นดังว่า ภายหลังยิ่งง่ายขึ้นอีกเพราะผสมมาให้อร่อยทันใจในแบบ “ทรีอินวัน”
เราก็ดื่มกันอย่างนี้ครับเป็นวัฒนธรรมของเรา เป็นแบบ “ไทยๆ” ฝรั่งมังค่าเข้ามาเยี่ยมเยียนเป็นที่รับรู้กันบางคนได้ดื่มกาแฟเย็นของเราก็ชอบ อีกหลายคนต้องทำการบ้านมาก่อนในการหากาแฟรสสากลดื่มเพื่อความอยู่รอด ผมเกริ่นมายาวยืดเพื่อเข้าเรื่องตรงนี้นี่เองครับว่า ในความเป็นจริงแล้วทางสากลอาจมีวิถีแนวทางการดื่มกาแฟต่างไปจากเราบ้าง คืออย่างน้อยจะไม่นิยมใช้นมข้นทั้งจืดและหวาน จุดนี้เป็นจุดสำคัญครับ เพราะทำให้องค์ประกอบอีกหลายอย่างที่ตามมาพลอยแตกต่างกันไปด้วย ที่สำคัญที่สุดคือ “เมล็ดกาแฟคั่ว” ที่ใช้
ในเมื่อไม่ใช้นมข้น เมล็ดกาแฟคั่วที่ใช้จึงไม่จำเป็นต้องเข้มมากจนไหม้ นมข้นหวานในกาแฟเย็นแบบไทยจะลดความขมไหม้ของกาแฟลงทำให้รสกลมกล่อมมากขึ้น (แต่อาจเป็นความกลมกล่อมแบบขนม) แม้นในบางวัฒนธรรมนิยมใช้นมในกาแฟมากอย่างเช่นวัฒนธรรมอเมริกัน กาแฟจะคั่วค่อนข้างเข้มแต่ก็ไม่ขมไหม้อย่างที่บ้านเรานิยม ยิ่งเมื่อหันไปมองวัฒนธรรมกาแฟในยุโรปหรือโดยเฉพาะในอิตาลียิ่งใช้นมน้อยลงนิยมดื่มแต่กาแฟดำ เมล็ดกาแฟคั่วที่ใช้ยิ่งคั่วอ่อนลงไปอีก
วัฒนธรรมกาแฟที่แตกต่างเป็นเรื่องของสังคม เป็นเรื่องของความนิยม ไม่มีใครดีกว่าใครครับ แต่โดยปกติในการใช้ชีวิตของคนเรา หากแม้นมีโอกาส การได้พลัดหลงไปในวัฒนธรรมที่แตกต่างย่อมทำให้ชีวิตมีสีสันมากขึ้น เป็นการเปิดโลกทัศน์ เป็นการเปิดโอกาสให้ตัวเรามีอะไรให้เลือกมากขึ้น เป็นเสน่ห์ของการใช้ชีวิต ที่จั่วหัวเรื่องไว้เป็นการเชิญชวนให้ลองดื่ม “เอสเปรสโซ” กันนั้น เป็นการเชิญชวนให้พลัดไปในอีกวัฒนธรรมหนึ่งนั่นเอง
“เอสเปรสโซ” ในความหมายนี้คือ เอสเปรสโซช็อต เป็นน้ำกาแฟจากเครื่องเอสเปรสโซปริมาณแค่ 1 ออนซ์ ในถ้วยใบเล็กๆ แบบที่ชนอิตาเลี่ยนนิยมนักหนา ว่ากันว่าเอสเปรสโซที่แท้จริงจะต้องมีรสชาติเข้มข้น กลิ่นหอมแรงลึกเข้าไปในโพรงจมูก มีรสเปรี้ยวหวานและขมผสมกันลงตัวกล่อมกลม มีความซับซ้อนซ่อนไปด้วยรสช็อคโกแล้ต ผลไม้ และดอกไม้ ใครที่เคยดื่มเอสเปรสโซที่ดีๆ ย่อมเห็นด้วยในข้อความนี้ แต่ “กาแฟดีไม่เคยเป็นเรื่องง่าย” เอสเปรสโซดีๆ ในเมืองไทยยิ่งหายาก
ผมอุตส่าห์เชิญชวนไว้แล้วย่อมต้องรับผิดชอบด้วยการบอกใบ้เล็กน้อย หากจะเริ่มชิมเอสเปรสโซกันน่าจะลองชิมจากร้านกาแฟเล็กๆ ที่แสดงออกถึงความใส่ใจในกาแฟพอสมควร มีเครื่องไม้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ มีพนักงานที่ถูกฝึกมาอย่างดี หรือหากเจ้าของร้านยืนชงเองยิ่งดี ร้านไหนขายกาแฟร้อนดีมีลูกค้าเยอะ โอกาสจะได้เอสเปรสโซดีย่อมมีสูง ถ้าเป็นลูกค้าร้านใดอยู่แล้วและสัมผัสได้ว่ารสกาแฟไม่ขมไหม้ยิ่งน่าลองสั่งเอสเปรสโซดื่มดู ถ้าร้านไหนใช้กาแฟที่คั่วเข้มสักหน่อยให้ใส่น้ำตาลลงไปช่วยบ้าง สำหรับเชนกาแฟส่วนใหญ่ผมพบว่าเอสเปรสโซมีรสขมมากเพราะในร้านขายกาแฟเย็นกาแฟปั่นมาก ที่เคยดื่มแล้วรู้สึกดีออกชื่อได้มีเชสเตอร์คาเฟ่สาขาฟอร์จูนทาวน์รสชาติเอสเปรสโซใช้ได้แต่น้ำกาแฟมากไปนิดและไม่แน่ใจว่าสาขาอื่นจะเป็นเช่นไร ที่ซีททูคัพเองเราก็พยายามทำเอสเปรสโซให้ได้ดีแต่เรามีสาขาเดียวคงไม่สะดวกสำหรับทุกคน จึงได้แต่เชิญชวนให้ลองกันเมื่อมีโอกาส เป็นกำลังใจให้เสี่ยงสั่งมาดื่มดูบ้าง หากโชคดีได้พบเอสเปรสโซที่ดีอาจเป็นการเปิดโลกแห่งการดื่มกาแฟให้ท่านได้ ใครมีร้านกาแฟที่มีเอสเปรสโซดีๆ จะมาแนะนำแบ่งปันกันก็ขอขอบคุณ แต่ย้ำว่าเป็นเอสเปรสโซนะครับ มิใช่เอสเปรสโซเย็น
ที่มา : vudh.wordpress.com
9.5.09
กาแฟ | ความสุขเล็กน้อยที่เรียนรู้ได้
กาแฟ ความสุขเล็กน้อยที่เรียนรู้ได้
ไม่ได้เขียนเสียนานเลยครับ ด้วยยุ่งวุ่นวายหลายอย่างจิตใจไม่สงบ ไม่รู้จะพูดถึงอะไรดี จนวันนี้บ้านเมืองมีเรื่องวุ่นวาย เปิดดูข่าวฟังข่าวจนมึนไปหมด แต่ในขณะที่มีรายงานข่าวเป็นระยะ ยังมีรายการทีวีนำเรื่องราวของ ซูซาน ดัสตินหญิงสาวต่างชาติคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตในเมืองไทยมาเผยแพร่ ผมก็ดูบ้างไม่ดูบ้างไม่มีสมาธิ แต่ช่วงท้ายรายการเธอพูดถึงความคิดในการใช้ชีวิตมากมายและจบความ ด้วยความเชื่อของเธอว่า “การเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ” จะนำเราไปสู่การเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
ผมไม่ได้ตั้งใจฟังมาแต่ต้น แต่ในวาบความคิด ความสุขในสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่าจะเป็นความสุขจาก “การให้” ที่คุณซูซานกำลังปฏิบัติอยู่นั่นเอง การให้ดังกล่าวอาจเป็น การให้ความรัก การให้อภัย การให้สิ่งของ หรือการให้อะไรต่างๆ ที่ออกมาจากจิตใจที่ดีงาม อันนี้ผมไม่กล้าพูดถึงมากเพราะคิดว่าตัวเองคงไม่เข้าใจดีพอ
แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถเรยนรู้ได้อาจมีหลายอย่างเหลือเกิน แต่บางคนอาจมองว่าเล็กน้อยจนไม่เชื่อว่าเราจะมีความสุขกับมันได้…
คนที่เลี้ยงสุนัข อาจมีความสุขกับการบอกรักมัน ลูบหัว หรือให้อาหาร
คนเลี้ยงปลา อาจมีความสุขกับการเฝ้ามองมันว่ายไปมาอยู่ในตู้
คนที่ชอบธรรมชาติ อาจมีความสุขกับความเหนื่อยจากการเดินป่า
และคนชอบกาแฟ อาจมีความสุขกับการชงกาแฟแก้วเล็กๆ ด้วยมือของเขาเอง
ยังมีสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายครับ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านโดยมากคงมีสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ท่านชื่นชอบและมีความสุขกับมันอยู่แล้ว ถ้าวันนี้ท่านทิ้งมันไป หรือลืมมันไปแล้ว ผมมาเรียกร้องให้ท่านลองหันกลับไปมองอีกสักครั้ง หรืออาจมองหาสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างอื่น และมีความสุขกับมัน ให้เวลากับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้บ้าง ชีวิติอาจมีความสุขขึ้นอีกนิด
ไม่ได้เขียนเสียนานเลยครับ ด้วยยุ่งวุ่นวายหลายอย่างจิตใจไม่สงบ ไม่รู้จะพูดถึงอะไรดี จนวันนี้บ้านเมืองมีเรื่องวุ่นวาย เปิดดูข่าวฟังข่าวจนมึนไปหมด แต่ในขณะที่มีรายงานข่าวเป็นระยะ ยังมีรายการทีวีนำเรื่องราวของ ซูซาน ดัสตินหญิงสาวต่างชาติคนหนึ่งที่ใช้ชีวิตในเมืองไทยมาเผยแพร่ ผมก็ดูบ้างไม่ดูบ้างไม่มีสมาธิ แต่ช่วงท้ายรายการเธอพูดถึงความคิดในการใช้ชีวิตมากมายและจบความ ด้วยความเชื่อของเธอว่า “การเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ” จะนำเราไปสู่การเรียนรู้ที่จะมีความสุขกับสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้
ผมไม่ได้ตั้งใจฟังมาแต่ต้น แต่ในวาบความคิด ความสุขในสิ่งที่ยิ่งใหญ่น่าจะเป็นความสุขจาก “การให้” ที่คุณซูซานกำลังปฏิบัติอยู่นั่นเอง การให้ดังกล่าวอาจเป็น การให้ความรัก การให้อภัย การให้สิ่งของ หรือการให้อะไรต่างๆ ที่ออกมาจากจิตใจที่ดีงาม อันนี้ผมไม่กล้าพูดถึงมากเพราะคิดว่าตัวเองคงไม่เข้าใจดีพอ
แต่สิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่เราสามารถเรยนรู้ได้อาจมีหลายอย่างเหลือเกิน แต่บางคนอาจมองว่าเล็กน้อยจนไม่เชื่อว่าเราจะมีความสุขกับมันได้…
คนที่เลี้ยงสุนัข อาจมีความสุขกับการบอกรักมัน ลูบหัว หรือให้อาหาร
คนเลี้ยงปลา อาจมีความสุขกับการเฝ้ามองมันว่ายไปมาอยู่ในตู้
คนที่ชอบธรรมชาติ อาจมีความสุขกับความเหนื่อยจากการเดินป่า
และคนชอบกาแฟ อาจมีความสุขกับการชงกาแฟแก้วเล็กๆ ด้วยมือของเขาเอง
ยังมีสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อีกมากมายครับ ผมเชื่อว่าท่านผู้อ่านโดยมากคงมีสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่ท่านชื่นชอบและมีความสุขกับมันอยู่แล้ว ถ้าวันนี้ท่านทิ้งมันไป หรือลืมมันไปแล้ว ผมมาเรียกร้องให้ท่านลองหันกลับไปมองอีกสักครั้ง หรืออาจมองหาสิ่งเล็กๆ น้อยๆ อย่างอื่น และมีความสุขกับมัน ให้เวลากับสิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้บ้าง ชีวิติอาจมีความสุขขึ้นอีกนิด
Subscribe to:
Posts (Atom)