กาแฟ ซึ่งเป็นไม้ตระกูลกาแฟ (Coffeฟ) ไม่ใช่ที่มีในเมืองไทย หากมีผู้นำมาปลูกจากทวีปแอฟริกา ที่นิยมปลูกและดื่มกันมมาก ได้แก่ พันธุ์อะราบิกา(Coffea arabica) เป็นพันธุ์กาแฟจากอะบิสสิเนีย ตามบันทึกของพระยาวินิจวนันดร ปลูกกันมากครั้งแรกๆที่จังหวัดจันทบุรี เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2393 หรือเมื่อกว่า 150 ปีมาแล้วพระยาวินิจวนันดร ได้บันทึกไว้ว่าไม้สกุลกาแฟ (Coffea) มีอยู่ตามธรรมชาติทั่วไปในภาคร้อนของทวีปเอเชียและอัฟริกา ไม้ในประเทศไทยเองก็มีอยู่ สองสามชนิด แต่ละชนิดที่ให้กาแฟที่ใช้ดื่มกันทุกวันนี้ เป็นพันธุ์ไม้ของทวีปอัฟริกาทั้งสิ้น และที่เรียกตามชื่อพฤกษศาสตร์ว่า คอฟเฟีย อะแรบิกา (Coffea arabica) ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ของอะบิสสิเนีย เป็นชนิดที่นิยมปลูกกันแพร่หลายที่สุด กาแฟที่ปลูกกันในประเทศไทยที่มีอยู่ 2-3 ชนิด และชนิดที่ปลูกกันมากที่สุด เช่น ที่จันทบุรี ก็คือ คอฟเฟีย อะแรบิกาดังกล่าวแล้ว...รองจากกาแฟชนิดที่กล่าวข้างบนยังมีอยู่อีกชนิดหนึ่ง คือ คอฟเฟีย ไลเบริกา (Coffea liberica) ซึ่งเป็นไม้ของอัฟริกาแถบร้อน ภาคตะวันตก ที่นิยมปลูกกันมากในแถบที่อยู่ระหว่างต่ำและมีอากาศชุ่มชื้นมากๆ ในประเทศไทยมีปลูกกันทางจันทบุรีบ้างเหมือนกัน และทางปักษ์ใต้ก็มีบ้าง กาแฟชนิดนี้เริ่มเข้ามาเมืองไทยเมื่อใดไม่ทราบ ปักษ์ใต้น่าจะได้พันธ์มาจากมลายู ซึ่งปลูกกาแฟชนิดนี้มากกว่าที่อื่น...นอกจากสองชนิดที่กล่าวแล้วนี้ กาแฟในเมืองไทยยังมีปลูกอีกชนิด คือ คอฟเฟีย โรบัสต้า (Coffea robusta) ซึ่งเป็นไม้อัฟริกาภาคกลาง เพิ่งเขามาในมะลายู ใน พ.ศ. 2418 ปลูกกันครั้งแรกที่จังหวัดลำปาง (ใกล้ประตูผาริมทางหลวงไปเชียงราย) เมื่อ พ.ศ. 2468 นายตัน บุนเหลียง แห่งพระนคร เป็นผู้สั่งเมล็ดเข้ามา จากสุมาตร ใน พ.ศ. 2467 ชื่อกาแฟที่ชาติต่างๆในโลกเรียกกันส่วนมาก นัยว่า เพี้ยน มาจากคำว่า “กาวา” (Kahwah) ซึ่งเป็นชื่อที่ชาวอาหรับเรียก ตาเดิมหมายถึง เหล้าองุ่น ส่วนชางอะบิสสิเนีย เรียกกาแฟ ว่า “บัน” (Bun) ปัจจุบัน กาแฟ อะราบิกา และโรบัสต้า ทางภาคใต้นิยมปลูกโรบัสต้ากันมากที่จังหวัดชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ และพังงาต้นทุนการผลิตเพื่อส่งออกกาแฟของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งขันในทวีปเอเชีย เช่นอินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ค่อนข้างสูง ระดับผลผลิตที่ส่งออกของไทย ประมาณปีละ 80000 ตัน ในยุคการค้าเสรี ไทยเราต้องรักษาคุณภาพให้สู้คู่แข่งขันได้ดีกว่าปัจจุบันเกษตรกรติดต่อขอเอกสารเพื่อปรับปรุงการปลูกกาแฟโรบัสต้าได้ที่ สถาบันพืชสวน กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 940-5484-5 โทรสาร (02) 561-4667
การทบยอดต้นกาแฟเพื่อเพิ่มผลผลิตการแฟ ซึ่งปลูกทดลองในพื้นที่สถานีเกษตรที่สูงดอยมูเซอร์ เคยทำการทดลองที่เรียกว่า “ทบยอด” สำหรับต้นกาแฟที่มีขนาดสูงประมาณศีรษะราวๆ 160 เซนติเมตร เป็นขนาดเหมาะสมที่จะ “ทบยอด” ต้นกาแฟ ด้วยการตัดส่วนยอดออกไปส่วนหนึ่ง ต้นกาแฟจะสูงอยู่แค่นั้น นัยว่า เพื่อให้ต้นกาแฟเติบโตเพียงจำกัด และมีผลผลิตเพิ่มขึ้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ง่าย
ที่มา : aircraftcoffee.com